3. หลักคำสอนเรื่องความรอด (3.3-8)
3.1 สภาพของชีวิตที่ไม่ได้รับความรอดจากพระเยซูคริสต์เจ้า (3)
“โง่เขลา ไม่เชื่อฟัง หลงผิด เป็นทาสของกิเลสตัณหาและความสำราญต่างๆ ใช้ชีวิตอย่างชั่วร้ายและอิจฉาริษยา ถูกชิงชังและเกลียดกัน”
๓:๓-๘ เปาโลสรุปว่าพระคริสต์ทรงทำอะไรบ้าง เพื่อช่วยเราให้รอด เราเปลี่ยนจากชีวิตที่เต็มไปด้วยความบาปสู่ชีวิตที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าทรงนำไม่ใช่ความบาปบางส่วนเท่านั้น แต่เป็นความบาปทั้งหมด ของเราที่ถูกชำระ เราได้ชีวิตนิรันดร์พร้อมกับสิ่งที่มีค่าทั้งหมด เราเต็มล้นไปด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ และพระองค์เปลี่ยนแปลงจิตใจเราใหม่อยู่ตลอดเวลา และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมิใช่เพราะเราสมควรได้รับ แต่ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นของประทานแห่งพระคุณพระ เจ้า
3.2 แหล่งกำเนิดของความรอด (4)
แต่เมื่อพระเมตตาและความรักของพระเจ้า ผู้ทรงช่วยเราทั้งหลายให้รอด ได้ปรากฏในโลกแล้ว แหล่งกำเนิดความรอดของเราอยู่ที่พระเมตตาและความรักของพระเจ้า
χρηστοτης chrestotes kindness ; ความเมตตา ความเอื้อเฟื้อ, ความมีน้ำใจ, ความกรุณา, ความปราณี, ความเอื้ออารี ลูกา 6:35 แม้แต่คนอกตัญญูและคนชั่ว
Φιλανθρωπια philanthropia ความรัก ความพอใจ, ความชอบพอ, ความชื่นชอบ, ความรักใคร่ ที่มีต่อมนุษย์ทั้งโลก ยอห์น 3:16
เราก็ยังไม่ได้รับความรอด จนกว่า ผู้ทรงช่วยเราทั้งหลายให้รอด ได้ปรากฏในโลกแล้ว หมายถึงพระเยซูทรงเป็นพระเมตตาและความรักของพระเจ้า ทรงเข้ามาในโลกนี้ พระราชกิจของพระองค์ได้สำแดงความเมตตาและความรักของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ทุกคนทั้งดีและชั่ว
3.3 พื้นฐานแห่งความรอด
พระองค์ได้ทรงช่วยเราให้รอด มิใช่ด้วยการกระทำที่ชอบธรรมของเราเอง แต่พระองค์ทรงพระกรุณาชำระให้เรามีใจบังเกิดใหม่ และทรงสร้างเราขึ้นมาใหม่ โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์
ελεον eleos ความกรุณา, ความปราณี (5) ต่อคนที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ โดยเฉพาะความรอดบาป
χαριτι charis พระคุณ ; favour ความช่วยเหลือ ความปรารถนาดี, ความเอื้อเฟื้อ ทรงแสวงหาผู้ที่สำนึกผิดและไม่สมควรได้รับความรอด
3.4 วิธีการแห่งความรอด (5)
พระองค์ได้ทรงช่วยเราให้รอด มิใช่ด้วยการกระทำที่ชอบธรรมของเราเอง แต่พระองค์ทรงพระกรุณาชำระให้เรามีใจบังเกิดใหม่ และทรงสร้างเราขึ้นมาใหม่ โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ 6พระองค์นั้นได้ทรงประทานแก่เราทั้งหลายอย่างบริบูรณ์ โดยพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา
พระองค์ได้ทรงช่วยเราให้รอด หมายความว่า พระราชกิจแห่งการช่วยให้รอดเป็นของพระเจ้า ไม่ใช่ของมนุษย์
มิใช่ด้วยการกระทำที่ชอบธรรมของเราเอง หมายความว่า ไม่มีวิธีใดเลยที่มนุษย์จะช่วยตนเองให้รอดได้ ในทางตรงข้าม มนุษย์คือต้องการผู้ที่ช่วยให้ความรอด
พระองค์ทรงพระกรุณาชำระ หมายถึงพระเจ้าทรงสำแดงความรักเมตตาของพระองค์แก่เราเพื่อจะช่วยให้รอดโดยการชำระ λουτρου loutron การล้างบาป คำเดียวกับ บัพติศมา แต่พิธีบัพติศมาไม่ได้ทำให้เรารอด เรารับความรอดโดยความเชื่อและแสดงออกด้วยการรับบัพติศมา
ให้เรามีใจบังเกิดใหม่ παλιγγενεσιας paliggenesia หมายถึงการเกิดใหม่ การกลับสู่สภาพเดิม หรือกลับสู่การทรงสร้างแต่เริ่มแรกนั้น
และทรงสร้างเราขึ้นมาใหม่ ανακαινωσεως Anakainosis Renewing การทำให้มีสภาพดีเหมือนเดิม ทำให้มีชีวิตชีวาอีก, ชุบชีวิต
โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ หมายถึงพระวิญญาณเป็นผู้ที่ทำให้มนุษย์เกิดการสำนึกผิด และกลับใจบังเกิดใหม่ โดยยอมรับว่าพระคริสต์เป็นพระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์ บทบาทของพระวิญญาณในการสร้างใหม่ ดู ยน 14 (สถิต ผู้ช่วยและ ครูสอน)
โดยพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา พระองค์ทรงทำการไถ่บาปและช่วยให้รอดโดยความตายที่บนไม้กางเขา และเป็นผู้ที่ทูลขอพระบิดาให้ประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้เชื่อ
3.5 เป้าหมายแห่งความรอด
เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมแล้วโดยพระคุณของพระองค์ และจะได้เป็นผู้ได้รับมรดกที่มุ่งหวังคือชีวิตนิรันดร์ 8คำนี้เป็นคำจริง
เป้าหมายสองอย่างคือ ได้เป็นคนชอบธรรม และรับชีวิตนิรันดร์ ความรอดหรือชีวิตนิรันดร์และการเป็นคนชอบธรรม เป็นผลสองอย่างที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ทันทีที่กลับใจบังเกิดใหม่ เราได้รับความรอดและถูกนับว่าเป็นคนชอบธรรมทันที แต่ทั้งสองอย่างก็จะถึงความสมบูรณ์เมื่อได้ได้ไปอยู่กับพระเจ้าในสวรรค์ ความหวังเป็นพลังให้เราก้าวเดินตามเป้าหมายนี้ คำว่าถูกนับให้เป็นผู้ชอบธรรม หมายถึง ไม่มีความผิดบาป ทั้งๆ ที่ยังมี แต่ถูกนับว่าเป็นคนชอบธรรมโดยพระเยซูคริสต์
ทั้งสามพระองค์ของพระเจ้าในตรีเอกาพุาพ ล้วนมีส่วนทำให้เราได้รับความรอด โดยพื้นฐานการไถ่บาปของพระบุตร พระบิดาทรงส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มาชำระบาปของเราและทรงสร้างเราขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง
คำนี้เป็นคำจริง แปลตรงตัวว่า "คำที่เชื่อถือได้'' เป็นวลีที่ปรากฏเฉพาะในจดหมายฝากถึงศิษยาภิบาลมีทั้งสิ้น 5 ครั้ง เป็นการยืนยันความน่าเชื่อถือของสิ่งที่กล่าวถึง
3.6. หลักฐานแห่งความรอด
ข้าพเจ้าปรารถนาให้ท่านเน้นเรื่องเหล่านี้ เพื่อคนทั้งหลายที่เชื่อในพระเจ้าแล้วจะได้อุตส่าห์กระทำการดี เหล่านี้ดีและเป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง
ไม้ได้หมายความว่าเราพยายามทำความดีเพื่อจะได้รับความรอด แต่หมายถึงผู้ที่ได้รับความรอดแล้วจะสำแดงชีวิตออกมาในการประพฤติที่ดี เราไม่ได้เคร่งศาสนาเพื่อได้รับความรอด แต่เรารับความรอดเราจึงเป็นคนเคร่งศาสนา ฯลฯ
4. คำแนะนำส่วนตัวสุดท้าย (3.9-15)
เปาโลเตือนทิตัส เหมืจนกับที่เตือนทิโมธี มิให้ร่วมถกเถียงในความขัดแย้งอันโง่เขลา ๒: ๑๔) คำเตือนไม่ได้หมายความว่า เราไม่ควรศึกษาอภิปรายและตรวจสอบการตีความที่แตกต่างกันของพระคัมภีร์ ตอนที่เข้าใจยาก เปาโลเตือนเรามิให้โต้เถียงกันเรืองหยุมหยิม แต่มิได้ห้ามการถกเถียงกันอย่างจริงใจเพื่อนำไปสู่สติปัญญา เมื่อเกิดการโต้เถียงโงๆ ขึ้น ทางที่ดีที่สุดคือดึงเรื่องให้เข้าประเด็นเพื่อจะได้มีข้อสรุป หรือไงก็ขอตัวไม่ร่วมโต้แย้งด้วย
หากใครกำลังสร้างความแตกแยกทีอาจจะทำลายความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของคริสตจักร ก็ต้องเตือนสติห้ามปราม การตักเตือนนี้มิใช่ปฏิบัติการอย่างรุนแรง แต่ควรเป็นการแก้ไขนิสัยชอบสร้างความแตกแยกและช่วยให้บุคคลผู้นั้นคืนสู่สามัคคีธรรมดังเดิม แต่คนที่ไม่ยอมรับการแก้ไขก็เท่ากับเลือกอยู่นอกสามัคคีธรรมอยู่แล้ว ดังที่เปาลกล่าว การกระทำของเขาพิพากษาตัวเขาเอง
4.1 ให้หลีกเลี่ยงการกระทำที่ไร้ประโยชน์
4.1.1 แต่จงหลีกเสียจากปัญหาโฉดเขลาที่เถียงกัน (คำสอนที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ)
4.1.2 จากการลำดับวงศ์ตระกูลและการเถียง
4.1.3 และการทะเลาะกันเรื่องธรรมบัญญัติ
เพราะว่าการอย่างนั้นไร้ประโยชน์และไม่เป็นเรื่องเป็นราว
4.2 ให้ตักเตือนอย่างมีหลักเกณฑ์
“ส่วนคนที่สร้างความแตกแยกนั้น จงเตือนแค่หนึ่งหรือสองครั้ง แล้วอย่าเกี่ยวข้องกับเขาอีก เพราะรู้แล้วว่าคนอย่างนั้นเป็นคนนอกลู่นอกทางและเป็นคนทำบาป เขาลงโทษตัวเขาเอง”
- ตักเตือนส่วนตัว
- ตักเตือนโดยมีพยานรู้เห็นสองสามปาก
- ลงวินัย (มีหลายระดับ)
o การงดการรับใช้ในระยะเวลาที่กำหนด
o การงดการรับใช้และปลดจากตำแหน่งในคริสตจักร
o งดการสามัคคีธรรม ตัดออกจากคริสตจักร
4.3 คำกำชับ
4.3.1 ให้ไปหาเปาโลที่นิโคบุรี (12)
4.3.2 ให้ช่วยส่งเสริมเสนาทและอปอลโลในการเดินทางรับใช้พระเจ้า (13)
4.3.3 ให้กำชับทีมงานของเปาโลเรียนรู้ที่จำกระทำการดีด้วย (14)
กระทำการดี “การทำดีในแง่ของการทำงานหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริต”
4.4 การทักทายจากเพื่อนร่วมงานของเปาโลถึงทิตัส (15ก)
4.5 คำอยพร ขอพระคุณดำรงอยู่กับพวกท่านทุกคนเถิด