งานของทิตัสที่เกาะครีต (1.5-16)
เกาะครีต
๑:๕ ครีต เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน[1] (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างรา 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซมีชาวยิวอาศัยอยู่จำนวนมาก คริสตจักรอาจ จะตั้งขึ้นจากยิวชาวคริสต์ซึ่งได้ไปที่กรงเยรูซาเล็มในวันเพ็นเทคอสต์ (กิจการ ๒ ๑๑) เมี่อ ๓๐ กว่าปีก่อนที่เปาโลจะเขียนจดหมายฉบับนี้ เปาโลและผู้ร่วมงานเคยผ่านเกาะนี้ระหว่างการเดินทางไปกรุงโรมครั้งแรก(กจ.27:7-8,12)
ในสมัยพระคัมภีร์เติม เกาะครีตเรียกว่า คัฟโทร เบ็นบ้านเกิด เมืองนอนดั้งเดิม ของชนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า ชาวครีต เมี่อครั้งสมัยดีกคำบรรพวกนี้ลงเรือแล่นไปทางทิศตะวันออกและไค้ตั้งหลักฐานเป็นหลักแหล่งอยู่ ในปาเลสไตน์ เมื่อไปอยู่ที่นั่นก็มีชื่อใหม่ เรียกว่าพวกฟีลิสเตีย (ฉธบ. 2:23; 1 ซมอ. 30:14; ยรม. 47:4. อมส. 9:7 เกาะแห่งนี้ได้กล่าวไว้ไนพระคัมภีร์ใหม่ เกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนที่เปาโลเดินทาง ไปกรุงโรม ขณะที่เรือเคลื่อนไปจากท่าเรือในเกาะครีต มุ่งหน้าเดินทางไปที่ท่าเรืออีกแห่งหนึ่ง เกิดมีพายุพัตมาอย่างรุนแรง และ เรือก็ถูกพายุพัดจนต้านลมไม่ไหว (กจ.27:7-21)
อาจเป็นไปได้ที่พวกชาวยิวที่กลับใจ ใหม่เป็น คริสเตียนเมื่อวันเพนเทคศเต ไต้นำเอาพระกิตติคุณไปประกาศที่เกาะครีตครั้งแรก (กจ. 2:11)
นิสัยประจำตัวของชาวเกราะครีตบางอย่างคือ พร้อมที่จะรับอะไรก็ไค้ที่ใช้ชีวตแบบง่าย ๆ และสิ่งที่ได้รับนั้นมีความสนุกสนานเป็นที่พอใจพวกเขา ด้วยเหตุนี้เอง จึงสร้างปัญหาให้เกิตขึ้นในคริสตจักรที่นั่น ประชาชนรับคำสอนผิต ๆ จนเข้ากระคูกดำเสียแล้ว (ทต. 1:10-16)
เปาโลพบปัญหาหนักอย่างหนี่ง เมื่อท่านไปเยี่ยมเกาะครีต ตอนปลายชีวิตของท่าน พอถึงเวลาที่ท่านจำเป็นต้องย้ายไปภาคอื่น ๆ ท่านได้ละทิตัสไว้ที่เกาะครีตนแห่งนี้ เพื่อให้ จัดการแก้ไขความยุ่งเหยิง จัดระเบียบเสียใหม่ให้เรียบร้อย และวางรากฐานคริสตจักรให้มั่นคงยิ่งขึ้น “เพื่อท่านจะได้แก้ไขสิ่งที่ยังบกพร่องให้เรียบร้อย (ข้อที่ 10-16) ตั้งผู้ปกครองไว้ทุกเมืองที่ข้าพเจ้ากำชับท่าน”
1. งานแรก การแต่ตั้งผู้ปกครองคริสตจักร
๑:๕ เป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละคริสตจักรจะต้องมีผู้นำฝายจิตวิญญาณ และเปาโลได้แต่งตั้งผู้ปกครองใน หลายคริสตจักร (กิจการ ๑๔๒๓) ให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำในคริสตจักรเหลานั้น โดยการช่วยให้ผู้เชื่อเติบโตเป็นผู้ใหญฝายจิตวิญญาณ และให้พร้อมที่จะดำเนินชีวิตเพื่อพระเยซูคริสต์ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะถูกต่อต้านก็ตาม
คุณสมบัติของผู้ปกครองคริสตจักร 6-9
เปาโลพูดถึงคุณสมบัติที่ผู้ปกครองควรจะมีไว้สั้นๆ คำสอนนี้คล้ายคลึงกับที่ให้แก่ทิโมธีสำหรับคริสตจักรในเอเฟซัสด้วยเช่นกัน (ดู ๑ ทิโมธี ๓) โปรดสังเกตว่า คุณสมบัติที่กำหนดส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอุปนิสัยใจคอของผู้ปกครอง ไม่ใช่เรื่องความรู้หรือทักษะ วิถีชีวิตและลักษณะความสัมพันธ์ที่แต่ละคนมี จะเป็นหน้าต่างเผยให้เห็นอุปนิสัยใจคอของเขา จงคำนึ้งถึงคุณสมบัติเหลานี้ เมื่อพิจารณาแต่งตั้งใครเป็นผู้นำ แม้การที่ผู้ปกครองหรึอศิษยาภิบาล สามารถเทศนาพระวจนะพระเจ้าอย่างได้ผลจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่เรื่องที่สำคัญกว่านั้นคือ การที่ศิษยาภิบาล หรือผู้ปกครองได้ดำเนินชีวิตตามพระวจนะพระเจ้า เป็นแบบอย่างให้คนอื่นปฏิบัติตาม
1. ต้องปราศจากตำหนิในชีวิตสมรสและครอบครัว (6)
2. ต้องปราศจากตำหนิในด้านอุปนิสัยหรือความประพฤติ (7-8)
“ไม่เย่อหยิ่ง ไม่อารมณ์ร้อน ไม่ดื่มสุรามึนเมา ไม่ชอบความรุนแรง และไม่เป็นคนโลภมักได้ 8แต่มีอัธยาศัยต้อนรับแขก รักความดี มีสติสัมปชัญญะ ชอบธรรม บริสุทธิ์ รู้จักบังคับใจตนเอง” อัชฌาสัยรับแขกดี มีใจยินดีในการต้อนรับผู้เชื่อโดยเฉพาะพวกที่เดินทางไปประกาศ
3. ต้องปราศจากตำหนิในเรื่องการใช้หลักคำสอนที่ถูกต้อง (9)
“และยึดมั่นในพระวจนะอันสัตย์จริงตามคำสอน เพื่อจะสามารถหนุนใจด้วยคำสอนที่ถูกต้องและชี้แจงต่อพวกคนที่คัดค้าน”
2. งานที่สอง แก้ไขสิ่งที่ยังบกพร่องให้เรียบร้อย (10-16)
2.1. ปัญหาของที่เกิดกับคริสตจักร
๑:๑๐ พวกนิยมลัทธิยดายสร้างปัญหาในหลายคริสตจักรที่เปาโลได้เทศนาขาวประเสริฐ พวกนี้เป็นชาวยิวที่สอนว่าคนต่างชาติต้องเชื่อฟังบทบัญญัติของชาวยิวทั้งหมดก่อนจึงจะมาเป็นคริสเตียนได้ คำสอนนี้ทำให้ คริสเตียนใหม่สับสน เปาโลต้องเขียนจดหมายถึงคริสตจักรหลายแห่งเพื่อช่วยให้เขาเข้าใจว่า คนต่างชาติไม่จำเป็นต้องเป็นยิวก่อนจึงจะมาเป็น คริสเตียนได้ เพราะพระเจ้าทรงยอมรับทุกคนที่มาหาพระองค์ด้วยความเชื่อ (ดูโรม ๑:๑๗ กาลาเทีย ๓: ๒-๗)
๑:๑๐-๑๔ เปาโลเตือนทิตัสให้ระวังผู้สอนเท็จซึ่ง อ้างว่าตนกล่าวพระวจนะพระเจ้า แต่เนื้อหาที่กล่าวนั้น ไม่สอดคล้องกับพระคัมภีร์ บางคนกลายเป็นผู้สอนเท็จเนื่องจากความสับสน เขาแสดงความคิดเห็นผิดๆ เพระไม่ได้ตรวจทานกับพระคัมภีร์ แต่บางคนก็มีแรงจูงใจชั่ว เขาแสร้งทำเป็นคริสเตียนเพียงเพื่อจะได้เงินทองมากขึ้น ได้ธุรกิจเพิ่มขึ้น หรือได้มีอำนาจเป็นผู้นำในคริสตจักร พระเยซูและเหล่าอัครทูตล้วนย้ำเตือนให้ระวังผู้สอนเท็จ มาระโก ๑๓: ๒๒ กิจการ ๒๐: ๒๙ ,๒ เธสะโลนิกา ๒: ๓-๑๒ ๒ เปโตร ๓:๓-๗) เพราะคำสอนของคน พวกนี้บอนทำลายรากฐานความเชื่อของคริสเตียน คือ ความจริงและความซื่อตรง เราสามารถบอกได้ว่าใครเป็นผู้สอนเท็จ เพราะคนพวกนี้จะ (๑) มุ่งสนใจตัวเองมากกวาพระคริสต์ (๒) บอกให้คุณทำสิ่งที่ต้องประนีประนอมความเชื่อหรือไม่เคร่งครัดในความเชื่อ (๓) ปฏิเสธเรื่องพระคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า หรือไม่เชื่อ ว่าพระเจ้าทรงดลใจให้เขียนพระคัมภีร์ (๔) เรงเร้าให้คริสตจักรตัดสินใจตามการวินิจฉัยของมนุษย์มากกว่าการอธิฐานและแนวทางตามหลักพระคัมภีร์
ลักษณะผู้สอนผิด (10)
ก. เพราะว่ามีคนจำนวนมากที่ดื้อด้าน
ข. พูดแต่เรื่องไม่มีประโยชน์และหลอกลวง
ค. โดยเฉพาะพวกที่เข้าสุหนัต
เป้าหมายของผู้สอนผิด (11)
พวกเขาคว่ำทั้งครัวเรือน โดยสอนสิ่งที่ไม่ควรจะสอนเพราะโลภมักได้
ลักษณะนิสัยของผู้สอนผิด (12-14)
ก. ชอบพูดปด
ข. โหดร้ายเหมือนสัตว์
ค. เกียจคร้านและตะกละ”
2.2. วิธีแก้ไขปัญหา
2.2.1. จำเป็นต้องให้เขาสงบปากเสีย
2.2.2. จงว่ากล่าวเขาให้แรงๆ
๑:๑๒ เปาโลอ้างบทประพันธ์ของเอปิเมนิเดส กวีและนักปรัชญาซึ่งพำนักที่เกาะครีตเมื่อ ๖๐๐ ปีก่อน คำว่า “เล่นเป็นชาวครีต” เป็นสำนวนมีความหมายว่า เป็นคนโกงและโกหก เปาโลจึงใช้สำนวนที่คุ้นเคยกันดีนี้ในการแสดงความคิดเห็น
๑:๑๕ บางคนเห็นแต่สิ่งดี แต่บางคนมองไม่เห็นอะไรอื่นนอกจากสิ่งชั่ว ความแตกต่างมาจากไหน? ความแตกต่างมาจากจิตวิญญาณ เพราะนี่คือเครื่องกลั่นกรองให้เรารับรู้ถึงลงที่ดีหรือชั่ว คนที่จิตใจบริสุทธิ์ เรียนรู้ที่จะมองเห็นความดีในท่ามกลางความชั่ว แต่คนชั่วเรียนรู้จะเห็นความชั่วร้ายในท่ามกลางความดี จงหันความคิดของคุณมาหาพระเจ้าและพระวจนะของพระองค์ แล้วคุณจะพบสิ่งดีมากขึ้นแม้อยู่ในโลกที่ชั่วร้ายนี้ สิ่งที่คุณเลือกมาใส่ในความคิดจิตใจจะส่งผลต่อความคิดและการกระทำ จงเติมความคิดจิตใจให้เต็มด้วยสิ่งที่ดี แล้วจะได้ไม่มีทีว่างสำหรับสิ่งนลว
๑:๑๖ หลายคนอ้างว่ารู้จักพระเจ้าและบังเกิดใหม่แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขาพูดความจริงหรือไม่ ในชีวตนี้ เราอาจณร้ชัดว่าใครรู้จักพระเจ้า แต่ว่ามองทีวิถีชีวิติ ของเขา ทั้งนี้จะแสดงให้ให้เห็นอย่างรวดเร็วว่า เขาให้คุณค่ากับสิ่งใดและเขาจัดระเบียบชีวิตตามลำดับความสำคัญก่อนหลังของอาณาจักรพระเจ้าหรือไม่ แนวทางดำเนินชีวิตตของเราฟ้องว่าเราเชื่ออะไร (๑ ยอห์น ๒ ๔-๖)
2.2.3. ความแตกต่างของผู้รับใช้ (15-16)
ก. สำหรับบรรดาคนที่บริสุทธิ์นั้นทุกสิ่งก็บริสุทธิ์
ข. สำหรับคนที่ชั่วช้าและไม่มีความเชื่อนั้นก็ไม่มีสิ่งใดบริสุทธิ์เลย
“แต่จิตใจและมโนธรรมของพวกเขาเสื่อมทราม เขาพูดว่ารู้จักพระเจ้า แต่ในการกระทำนั้นปฏิเสธพระองค์ พวกเขาน่าเกลียดน่าชัง ไม่เชื่อฟัง และไม่เหมาะกับการดีใดๆเลย”
2. หน้าที่ในการสั่งสอนคริสตจักร (2.1-15)
2.1 คำกำชับสำหรับผู้สอน (1)
“ส่วนท่านจงสอนให้สอดคล้องกับคำสอนที่ถูกต้อง”
2.2 ลักษณะและวิธีการสอนกลุ่มต่าง ๆ ในคริสตจักร (9-10)
2.2.1 ชายที่สูงอายุ (2)
คริสตจักรส่วนใหญ่ประกอบด้วยคนทุกวัย แม้ความหลากหลายนี้ทำให้คริสตจักรเข้มแข็ง แต่ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นเปาโลจึงนำแก่ทิตัสว่า เขาควรจะช่วยคนหลากหลายแบบได้ อย่างไร ผู้อาวุโสควรจะสอนคนอายุน้อยโดยคำพูด โดยชีวิตที่เป็นแบบอย่าง ผู้เชื่อทุกคนควรดำเนินชีวิตที่ดี ต่อต้านอิทธิพลของวัฒนธรรมและคำสอนเท็จซึ่งมาจากพวกที่ไม่เชื่อพระเจ้า
1.1.1 หญิงที่สูงอายุ (3-4)หญิงสาว (4-5)
๒:๓-๕ สตรีทีเป็นคริสเตียนใหม่ควรจะเรียนรู้วิธีสร้างความกลมเกลียวกันในบ้าน โดยดูแบบอย่างจากสตรีอาวุโสที่เป็นคริสเตียมานานกว่า สังคมเราก็ต้องสิ่งนี้ ในปัจจุบัน ผู้เป็ภรรยาและมารดาที่อายุยังน้อยเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตตามแบบฉบับของคริสเตียนคือการรักสามีและดูแลลูก โดยการศึกษาจากสตรีที่ยำเกรงพระเจ้าผู้เป็นแบบอย่าง ถ้าคุณเป็นผู้อาวุโสหรืออยู่ในฐานะที่ผู้คนนับถือ คุณแน่ใจไหมว่า ชีวิตของคุณจะเป็นแบบอยางที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้เชื่ออายุน้อยใช้ชีวิตในแนวทางที่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า?
1.1.2 ชายหนุ่ม (6)
“ชายหนุ่มก็เหมือนกัน จงเตือนสติพวกเขาให้มีสติสัมปชัญญะ”
๒.๖ คำแนะนำชายหนุ่ม ในที่นี้สำคัญมากในสังคม กรีกโบราณ ก็ได้มองสามีหรือบิดาในบทบาทของการประคบประหงมเลี้ยงดู แต่เป็นบทบาทตามหน้าที่มากกว่า ชายหนุ่มจำนวพากันปัจจุบันเติบโตขึ้พาในครอบครัวซึ่งบิดาละเลยความรับผิดชอบที่มีต่อภรรยาและลูกๆ บิดาและสามีผู้เป็นตัวอยางทีดีของการดำเนินชีวิตคริสเตียนในครอบครัวมีจำนวนน้อย คนเหลานี้เป็นแบบฉบับอันสำคัญยิ่งสำหรับคนหนุ่มผู้ปรารถนาจะเห็นว่าการเป็นสามีหรือบิดาที่ดีนั้นทำอย่างไร มากกว่าจะฟังว่าทำสิ่งนี้ได้อย่างไร
1.1.3 ตัวของทิตัสเอง (7-8)
“ท่านเองจงประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างในการดีทุกด้าน ในการสอนอย่างจริงใจ จริงจัง 8และถูกต้อง ที่ไม่มีใครจะตำหนิได้
๒:๖-๘ เราโลกระตุ้นเตือนให้ทิตัสเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนรอบข้างเพื่อให้คนอื่นเห็นและทำตาม ชีวิตทีเดีของทิตัสจะทำให้คำพูดของเขามีน้ำหนักมากขึ้น ถ้าคุณต้องการให้ใครบางคนดำเนินชีวิตในแนวทางใดคุณเองต้องแน่ใจว่าตนเองกดำเนินชีวิตตามเนนวทางนั้น แล้วคุณจึงมีสิทธิที่จะสั่งสอนผู้อน
๒:๘ เปาโลแนะนำให้ทิตัสระมดัระวังคำพูด รวมทั้งให้ใช้เหตุผลในการพูดจา หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ ที่จะพูดจาอย่างก็ได้นั้นเกิดจากการศึกษาพระคัมภีร์อย่างถ้วนที่และการฟังก่อนพูด ถ้าเราพูดอะไรตามใจ ไม่มีเหตุผลหรือพูดจาสับสน คำพูดของเราก็คงก่อให้เกิดการโต้เถียงมากกว่าการจะช่วยให้ผู้คนเกิดความเชึ่อมั่นในความจริง
1.1.4 ทาส (9-10)
“จงให้ทาสทั้งหลายเชื่อฟังนายของตน และทำสิ่งที่ถูกใจนายทุกอย่าง อย่าให้เถียงเลย 10อย่าให้ยักยอกแต่ให้สำแดงความซื่อสัตย์และดีงามในทุกอย่าง เพื่อเขาทั้งหลายจะเทิดพระเกียรติพระดำรัส สอนของพระเจ้าพระผู้ช่วยให้รอดของเราในทุกๆด้าน”
๒:๙ ๑๐ ทาสเป็นเรื่องธรรมดาสามัญในสมัยของเปาโล เปาโลไม่ได้ประณามการมีทาสในจดหมายฉบับใดๆ ที่ท่านเขียนขึ้น แต่ท่านแนะนำให้ทาสกับนายรักกันและรับผิดชอบในความประพฤติของตน (ดูเอเฟซัส ๖:๕-๙) เราอาจนำมาตรฐานที่เปาโลตั้งขึ้นมาใช้กับนายจ้างลูกจ้างก็ได้ ลูกจ้างควรทำงานให้ดีทีสุดทำตัวเป็นคนไว้วางใจได้ ไม่ใช่ทำดีแต่ต่อหน้าเจ้านายเท่านั้น
2.3 เป้าหมายของการสอนที่มีหลักอย่างถูกต้อง 11-14)
2.3.1 เพื่อช่วยทุกคนให้รอด (11)
2.3.2 เพื่อสอนเราให้ละทิ้งความอธรรมและโลกียตัณหา
ความอธรรม การดำเนินชีวิตที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในความชอบธรรมตามความจริงของพระเจ้า
โลกียตัณหา ความปรารถนาต่างๆในชีวิตของคนในโลกที่ตรงข้ามกับความบริสุทธิ์ชอบธรรมของพระเจ้า
2.3.3 ให้ดำเนินชีวิตในยุคนี้อย่างมีสติสัมปชัญญะ อย่างชอบธรรม
2.3.4 ให้ดำเนินตามทางพระเจ้า
เปาโลกล่าวถึงเป้าหมายความรอดของคริสตชนคือการดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์และชอบธรรมสมกับพระคุณของพระเจ้าที่ทรงโปรดประทานให้
ฤทธิ์อำนาจที่จะดำเนินชีวิตคริสเตียน มาจากพระเยซูคริสต์ เพราะพระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อช่วยเราจากบาป เราจึงมีเสรีไม่ต้องถูกบาปควบคุมพระเยซูประทานฤทธิ์อำนาจและความเข้าใจเพื่อให้เราดำเนินชีวิตตามน้ำพระทัยพระเจ้า ให้เราเฝ้าคอยการเสด็จกลับมาของพระองค์ และให้เราทำความดี
2.4 เหตุผลที่ต้องสอนอย่างมีหลักที่ถูกต้อง (12-14)
2.4.1 เรากำลังรอคอยความหวังอันน่ายินดี
2.4.2 เรากำลังรอคอยการมาปรากฏของพระสิริของพระเจ้ายิ่งใหญ่คือ
2.4.2.1 คือพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา
2.4.2.2 พระองค์ประทานพระองค์เองแก่เรา
2.4.2.2.1 เพื่อไถ่เราให้พ้นจากการอธรรมทุกอย่าง
2.4.2.2.2 และเพื่อชำระเราให้บริสุทธิ์
2.4.2.2.3 จะได้เป็นประชากรของพระองค์โดยเฉพาะ
2.4.3 ซึ่งมีใจร้อนรนที่จะทำการดี
2.5 การใช้สิทธิอำนาจในการสั่งสอน (15)
“จงใช้ข้อความข้างบนนี้พูด เตือนสติและตักเตือนพวกเขาด้วยอำนาจอย่างเต็มที่ อย่าให้ใครสบประมาทท่านได้”
๒:๑๕ เปาโลบอกทิตัสให้สอนพระคัมภีร์พร้อมทั้งดำเนินชีวิตตามนั้น เราเองก็ต้องสอน หนุนน้ำใจและว่ากล่าวตักเตือนคนอื่น ตามความจำเป็น แม้ว่าการสอนเกิดขึ้นในห้องเรียนหรือในกลุ่มย่อย แต่การสอนที่เปาโลพูดถึงนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักทำกันใน “ห้องเรียนแห่งความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือความสัมพัณส่วนตัว
2.6 เรื่องทั่ว ๆ ไปในการสั่งสอน (3.1-2)
1.1.1 ความสัมพันธ์กับผู้ครอบครองบ้านเมือง (1)
“จงเตือนพวกเขาให้อยู่ใต้สิทธิอำนาจของบรรดาผู้ปกครองบ้านเมืองและพวกที่มีอำนาจ ให้เชื่อฟังและพร้อมจะทำการดีทุกอย่าง”
1.1.2 ความสัมพันธ์กับบุคคลทั่วไป (2)
“อย่าว่าร้ายใคร อย่าทะเลาะวิวาท แต่ให้ผ่อนหนักผ่อนเบาและแสดงความสุภาพอ่อนโยนอย่างยิ่งต่อทุกคน”
๓:๑ ๒ ในฐานะคริสเตียน เราย่อมจงรกภักดีต่อ พระเยซูในฐานะองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นอันดับแรก แต่เราก็ต้องเชื่อฟังรัฐบาลและผู้นำด้วย คริสเตียนไม่ใช่ อยู่เหนือกฎหมาย แต่การรักษากฎหมายบ้านเมืองเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความรับผิดชอบของคริสเตียน ในระบบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมและรับใช้สังคมที่เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน