บทนำ (1.1-4)
เปาโลเขียนจดหมายฉบับนี้ระหว่างการจำคุก ครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองที่ไรม (กอนที่จะเขียน ๒ทิโมธี) เพื่อแนะแนวทิตัสในการทำงานกับคริสตจักรต่างๆ บน เกาะครีต เปาโลได้ไปเยียมเยียนเกาะครีตกับทิตัสแล้ว ละเขาไว้ให้รับใช้ที่นั่น (เนื่องจากเกาะครีตเป็นศูนย์ กลางการฝึกอบรมทหารโรมัน ดังนั้นพระต่างชาติจึงมี อิทธิพลอย่างมากในเกาะเล็กๆแห่งนี้ ฉะนั้นคริสตจักรในเกาะครีตจึงต้องการผู้นำคริสเตียนที่เข้มแขง
เพียงวลีสั้นๆ เปาโลทำให้เราเข้าใจเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของท่าน ท่านเรียกตนเองว่าผู้รับใช้ ของพระเจ้า δουλος (หรือทาส) มาจากคำว่า a slave ผู้ที่ทำงานหนักหรือได้ค่าแรงต่ำ servant คือคนรับใช้ นั่นคือท่านอุทิศตนเพื่อเชื่อฟังพระเจ้า การเชื่อฟังนี้ทำให้เปาโลใช้ชีวิตเพื่อบอกคนอื่นเกี่ยวกับพระคริสต คุณมีจุดมุ่งหมายอะไรในชีวิต คุณอุทิศเพื่สิ่งใด?
ผู้รับใช้: ในพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ใช้คำที่แตกต่างกันหลายคำ เมื่อพูดถึง "ผู้รับใช้" เช่น คนใช้ คนงาน หรือ ทาส ในพระคัมภีร์เดิมถือว่าผู้อาวุโสหรือบรรพบุรุษของชาวอิสราเอลเป็น "ผู้รับใช้ของพระเจ้า" (อพย.32:13) ในพระคัมภีร์ใหม่ก็ถือว่าพระเยซูเป็น "ผู้รับใช้ขององค์พระผู้เป็นเจ้า" (อสย.42:1-4; 49:1-6; 50:4-9; 52:13-53:12) ซึ่งกล่าวถึงใน มธ.12:18-21 และพระเยซูก็ทรงสำแดงพระองค์เองว่าเป็นผู้รับใช้ (มก.10:45; ยน.13:1-20) ข้อพระคัมภีร์ที่บรรยายถึงลักษณะดังกล่าวของพระองค์ ปรากฏอยู่ใน ฟป.2:6-8 อัครทูตเปาโลเป็นอีกผู้หนึ่งที่กล่าวถึงตัวเองว่าเป็นเหมือนกับผู้รับใช้หรือทาสของพระเจ้า (รม.1:1; กท.1:10; ฟป.1;1) ผู้เขียนจดหมายยากอบ 2 เปโตร ยูดา ก็กล่าวถึงตัวเองในลักษณะเดียวกัน (ยก.1:1; 2 ปต.1:1; ยด.1)
อัครทูต Αποστολος ส่งไปเป็นตัวแทน อย่างเฉพาะเจาะจง, อย่างพิเศษ อย่างเป็นทางการ มาจากคำภาษากรีกว่า "อาพอสทอลอส" แปลตรงตัวว่า "ผู้ที่ถูกส่งออกไป" ส่วนใหญ่พระคัมภีร์ใช้หมายถึง อัครสาวก 12 คนที่พระเยซูคริสต์ทรงเลือก (ลก.6:12-16) และรวมถึงเปาโลที่พระเยซูทรงเรียกให้เป็นอัครทูตด้วย (1 คร.15:8-9; 2 คร.12:11-12; กท.1:11-24)
ผู้ที่พระเจ้าได้ทรงเลือกไว้ εκλεκτων ซึ่งได้รับการคัดเลือก ซึ่งผ่านการเลือกสรร คนโปรด หัวแก้วหัวแหวน ซึ่งเป็นที่โปรดปราน
รากฐานความเชื่อของเราคือวางใจในพระลักษณะของพระเจ้า เพราะพระองค์ทรง เป็นความจริง พระองค์จึงเป็น แหลง แห่งความจริงทั้งมวล พระองค์ ไม่สามารถมุสา เราก็ได้รับชีวิตนิรันดร์ที่ทรงสัญญาไว้ เพราะพระองค์ทรงรักษาสัญญา จงสร้างความเชื่อบน รากฐานแห่งพระเจ้าผู้ที่เราสามารถไว้วางใจ้ใด้ เพราะพระองค์ไม่มุสา
ชีวิตนิรันดร์: αιωνιου (aionios = ahee-o'-nee-os) เป็นชีวิตที่ใกล้ชิดผูกพันกับพระเจ้า โดยไม่มีวันสิ้นสุด (ยน.17:3) เป็นชีวิตครบบริบูรณ์ (ยน.10:10) คือมีสันติสุขแท้ ท่ามกลางความทุกข์โศกและปัญหาในปัจจุบัน เป็นชีวิตที่ไม่อาจจะหาได้จากที่ใดนอกจากในพระเยซูคริสต์ ผู้ใดเชื่อวางใจและติดตามพระองค์จะได้รับชีวิตนิรันดร์ ชีวิตนิรันดร์นี้เริ่มต้นตั้งแต่วินาทีที่ผู้เชื่อกลับใจบังเกิดใหม่ แต่จะสมบูรณ์และปราศจากความทุกข์ทั้งสิ้นเมื่อไปอยู่กับพระเจ้า
พระเจ้าผู้ไม่ทรงมุสาเลย
1. กันดารวิถี 23:19
2. 1 ซามูเอล 15:2
3. ยอห์น 8:44
4. กิจการ 5:3
5. ฮีบรู 6:18
ทรงสัญญาไว้ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
1. เอเฟซัส 1:3-5
2. มัทธิว 25:34
3. ยอห์น 3:16
κηρυγματι kerugma ทรงโปรดให้พระวาทะของพระองค์ปรากฏด้วยการประกาศ พระวาทะ บรรดาคำสั่งสอนหรือความจริงของพระเจ้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงองค์พระเยซูคริสต์
๑:๓ เราเรียกพระเจ้าว่า องค์พระผู้ช่วยให้รอด ของเรา (๑ ๓) เช่นเดียวกับที่เราเรียกพระเยซู (๑ ๔) เพราะพระเยซูทรงให้เรารอดโดยการสิ้นพระชนม์เพื่อ ไถ่บาปของเรา พระองค์จึงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเรา ในขณะที่พระเจ้าทรงเป็นผู้วางแผนการไถบาปและเป็น ผู้อภัยบาปของเรา พระองค์จึงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดเช่นกัน ดังนั้นทั้งพระบิดาและพระบุตรจึงมีสวนร่วมในการช่วยเราให้รอด
๑:๔ ทิตัสเป็นชาวกรีก เขาเป็นเพื่อนรวมงานที่เปาโลไว้วางใจและพึ่งพาอาศัยได้มากที่สุดคนหนึ่ง เปาโลส่งทิตัสไปโครินธ์เพื่อทำภารกิจพิเศษในการช่วยแก้ปัญหาของคริสตจักหลายครั้ง (๒ โครินธ์ ๗-๘) นอกจากนี้เราโลกับทิตัสเดินทางไปกรุงเยรูซาเล็ม (กาลาเทีย๒:๓) และเกาะครีต (๑:๕) ด้วยกัน เปาโลละทิตัสไว้ที่เกาะนั้นเพื่อให้เขาเป็นผู้นำคริสตจักรที่เกิดใหม่ เปาโล กล่าวถึงทิตัสครั้งสุดท้ายใน ๒ ทิโมธี ๔ ๑๐ ซึ่งเป็นจดหมายฉบับสุดท้ายของทานที่มีบันทึกไว้ว่า ทิตัสมีความสามารถในการเป็นผู้นำ เปาโลจึงให้เขารับผิดชอบเป็นผู้นำ และกระตุ้นเตือนเขาให้ใช้ความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่